วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทย

                   
                  


                      การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิหรือ
ความนิยมของแต่ละชาติ การแบ่งประเภทของเครื่อดนตรีตามแบบตะวันตกนั้น
แบ่งเป็นเครื่องสาย  เครื่องลมและเครื่องตี  เครื่องสายจะต้องแยกออกเป็นเครื่องดีด
และเครื่องสี  เครื่องลมก็แยกออกเป็นเครื่องไม้และเครื่องโลหะ  และเครื่องตีก็แยกได้
เป็นเครื่องบรรเลงทํานองและเครื่องประกอบจังหวะ
         ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
อย่างเดียวเป็นเครื่องแบ่งประเภท  คือเครื่องที่ดีดเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสาย
ใช้มือหรือวัตถุใดๆดีดที่สายแล้วก็เกิดเสียงขึ้น เช่น กระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้ เรียกว่า
เครื่องดีด เครื่องที่สีเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสายใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่าเครื่องสี  เครื่องที่ตีเป็นเสียงมีทั้งตีด้วยไม้ เช่น ฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่น กรับและฉิ่ง เหล่านี้เรียกว่า เครื่องตี  เครื่องที่เป่าเป็นเสียงเป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่า
เข้าไปในเครื่องนั้นๆ เช่น ปี่ ขลุ่ย ก็เรียกว่า เครื่องเป่า รวมแล้วดนตรีไทยมี ๔ ประเภท
คือ ดีด สี ตี เป่า
         การแบ่งหน้าที่ของการบรรเลง การแบ่งประเภทเป็นดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการ
แบ่งประเภทของเครื่องดนตรีแต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงซึ่ง
แบ่งออกได้เป็น ๒ พวก

. บรรเลงทํานองเพลง
         
พวกที่ ๑ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำเรียงลําดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง
ดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลงเป็นทํานองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ
. บรรเลงประกอบจังหวะ
         พวกที่ ๒ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียง เครื่องดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน กลองทัด โทน รํามะนา เป็นต้น

ประวัติดนตรีไทย





ประวัติดนตรีไทยในสมัยอยุธยา 

                ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย จึงน่าจะเป็น เครื่องดนตรี ที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้เกี่ยวกับลักษณะของ วงดนตรีไทย ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ

1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ คือ

  1. ระนาดเอก
  2. ปี่ใน
  3. ฆ้องวง (ใหญ่)
  4. กลองทัด ตะโพน
  5. ฉิ่ง
2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา ทำให้ วงมโหรี ในสมัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ
  • ซอสามสาย
  • กระจับปี่ (แทนพิณ)
  • ทับ (โทน)
  • รำมะนา
  • ขลุ่ย
  • กรับพวง

ประวัติดนตรีไทยในสมัยธนบุรี


เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 15 ปี และประกอบกับเป็นสมัย แห่งการก่อร่างสร้างเมือง และการป้องกันประเทศเสียโดยมากวงดนตรีไทย ในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง






ประวัติดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ 


               ในสมัยนี้ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงครามและได้มีการก่อสร้างเมือง ให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความสงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้านดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ
         สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทยในสมัยนี้ส่วนใหญ่ ยังคงมีลักษณะและ รูปแบบตามที่มี
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัยนี้ก็คือ การเพิ่มกลองทัด ขึ้นอีก 1 ลูก ใน วงปี่พาทย์ ซึ่งแต่เดิมมา มีแค่ 1 ลูก พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์ มีกลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และเสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง และการใช้กลองทัด 2 ลูก ในวงปี่พาทย์ก็เป็นที่นิยมกันมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้
         สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทางดนตรีไทย ถึงขนาดที่ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยขึ้นเพลงหนึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง "บุหลันลอยเลื่อน"
         การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของดนตรีไทยในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอาวงปี่พาทย์
มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สองหน้า" ใช้ตีกำกับ
จังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ประกอบการขับเสภา  เนื่องจากเห็นว่าตะโพน
ดังเกินไป  จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง




ประวัติดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย

               นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฎ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้าน ดนตรีไทย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดีและเอกสาร

ทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฎในปัจจุบัน
         สมัยสุโขทัย  ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดีที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรี ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ 
3.1วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย) 
3.2วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะเห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก

4. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง ที่นำเอา วงบรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรีเครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ 1. คนขับลำนำและตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ



ประวัติดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย

               นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฎ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้าน ดนตรีไทย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดีและเอกสาร

ทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฎในปัจจุบัน
         สมัยสุโขทัย  ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดีที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรี ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ 
3.1วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย) 
3.2วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะเห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก

4. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง ที่นำเอา วงบรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรีเครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ 1. คนขับลำนำและตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ

การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทย

                   
                  


                      การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิหรือ
ความนิยมของแต่ละชาติ การแบ่งประเภทของเครื่อดนตรีตามแบบตะวันตกนั้น
แบ่งเป็นเครื่องสาย  เครื่องลมและเครื่องตี  เครื่องสายจะต้องแยกออกเป็นเครื่องดีด
และเครื่องสี  เครื่องลมก็แยกออกเป็นเครื่องไม้และเครื่องโลหะ  และเครื่องตีก็แยกได้
เป็นเครื่องบรรเลงทํานองและเครื่องประกอบจังหวะ
         ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
อย่างเดียวเป็นเครื่องแบ่งประเภท  คือเครื่องที่ดีดเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสาย
ใช้มือหรือวัตถุใดๆดีดที่สายแล้วก็เกิดเสียงขึ้น เช่น กระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้ เรียกว่า
เครื่องดีด เครื่องที่สีเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสายใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่าเครื่องสี  เครื่องที่ตีเป็นเสียงมีทั้งตีด้วยไม้ เช่น ฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่น กรับและฉิ่ง เหล่านี้เรียกว่า เครื่องตี  เครื่องที่เป่าเป็นเสียงเป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่า
เข้าไปในเครื่องนั้นๆ เช่น ปี่ ขลุ่ย ก็เรียกว่า เครื่องเป่า รวมแล้วดนตรีไทยมี ๔ ประเภท
คือ ดีด สี ตี เป่า
         การแบ่งหน้าที่ของการบรรเลง การแบ่งประเภทเป็นดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการ
แบ่งประเภทของเครื่องดนตรีแต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงซึ่ง
แบ่งออกได้เป็น ๒ พวก

. บรรเลงทํานองเพลง
         
พวกที่ ๑ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำเรียงลําดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง
ดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลงเป็นทํานองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ
. บรรเลงประกอบจังหวะ
         พวกที่ ๒ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียง เครื่องดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน กลองทัด โทน รํามะนา เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

自己紹介





自己紹介



はじめまして。

私は ジェーです。


22さい、タイ人です。


ランシート大学、2年生です。


私のしゅうみは おんがく、柔道です。


日本語と日本文化と日本の人々に大変興味を持っています。


どうぞよろしくお願いいたします。








Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ดนตรีไทย

ดนตรีไทย



ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียจีน,อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า
== ประวัติ ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี"ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉนระฆัง กรับ และกังสดาล
สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัดตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ













Creative Commons License
           This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

อนุรักษ์ดนตรีไทย





วิธีอนุรักษ์ดนตรีไทย

  • ปลูกฝังทัศนคติที่ดีจากคนรุ่นเก่า
        คนรุ่นเก่าอาจต้องทบทวนทัศนคติของตนก่อนที่จะปลูกฝังให้แก่ลูกหลานคนรุ่นใหม่
        ประการแรก คนรุ่นเก่าที่มีความรู้ความสามารถ ควรต้องตระหนักว่าดนตรีไทย

เป็นสมบัติของคนรุ่นใหม่ที่คนรุ่นเก่ายืมไปใช้ โดยพร้อมที่จะส่งมอบกลับคืนในเวลาอันควร 
มิใช่ส่งคืนด้วยการส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนเปียโน ไวโอลิน หรือฝึกหัดร้องเพลงสากล
ในส่วนของทัศนคตินี้ ควรได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ ครู หรือผู้ปกครอง โดยปลูกฝังให้เกิดแนวคิดใ

ห้มีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีและต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ตั้งแต่ในวัยเยาว์
        ประการที่สอง คนรุ่นเก่าควรทบทวนความเหมาะสมในการใช้คำว่า อนุรักษ์ หรือ สืบสาน 

เพื่อรณรงค์ให้ดนตรีไทยเข้าถึงคนรุ่นใหม่และยั่งยืนสู่คนรุ่นใหม่กว่าต่อไป
        คำว่า อนุรักษ์ ถูกใช้คู่กับดนตรีไทยในยุคโลกาภิวัตน์อยู่บ่อยๆ ใครที่กล่าวถึงดนตรีไทย 

ก็มักมีคำนี้พ่วงอยู่ด้วยเสมอ ทำนองว่าให้รักษาดนตรีไทยไว้ให้คงอยู่ดังเดิมต่อไป 
กล่าวคือ มีมาอย่างไรก็ให้มีต่อไปอย่างนั้น ผู้เขียนคิดว่าการรักษาดนตรีไทยในรูปแบบอนุรักษ์ 
อาจไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะหากเป็นเช่นนั้น ดนตรีไทยก็คงต้องเป็นดนตรีสำหรับ
คนรุ่นเก่าต่อไป และมีอนาคตเพียงแค่ช่วงชีวิตของคนรุ่นเก่าเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องกลาย
เป็นดนตรีบนกระดาษ หรือเครื่องเล่นที่ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ (เป็นการอนุรักษ์ที่แท้จริง)
       ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวดนตรีให้เข้ากับยุคสมัย จึงน่าจะเหมาะสมและเป็นทางหนึ่ง

ที่จะช่วยให้ดนตรีไทยสามารถเข้าถึงคนรุ่น ใหม่ และรุ่นต่อๆ ไปได้
       สืบ มีความหมายสองประการ คือ สืบสาว และ สืบทอด
       สืบสาว หมายถึง การสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต เช่นประเภทของเครื่องดนตรี
ความเป็นมา ความดีงาม ความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ
       สืบทอด หมายถึง การส่งต่อเรื่องราวในอดีตไปสู่อนาคต เช่นนำความดีงาม ความเป็น
เอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ สู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่และรุ่นต่อ ๆ ไป
       สาน หมายถึงการปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่า โดยไม่ทำให้เอกลักษณ์เดิมสูญหาย 

ด้วยเหตุนี้คำว่า สืบสาน จึงน่าจะตอบสนองกับกระแสสังคมปัจจุบันและเข้ากันได้กับคนรุ่นใหม่ 
ผู้มีหน้าที่รักษาและสืบทอดดนตรีไทยสู่อนุชนคนรุ่นต่อไป


  •      นำเสนอความรู้ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัยของคนรุ่นใหม่
         ผู้เขียนเป็นคนรุ่นใหม่ เมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความนี้ ตอนแรกรู้สึกเครียด 
เนื่องจากมีความรู้เรื่องดนตรีไทยน้อยมาก กอปรกับมีเวลาที่จำกัดจึงเลือกใช้วิธีสอบถามจาก
ผู้รู้ในศาสตร์แขนงนี้หลาย ท่าน แต่เพราะท่านเหล่านั้นมีความรู้มาก จึงได้กรุณามอบเอกสารมา
ให้ผู้เขียนนำไปศึกษา (อ่านเอง) ปึกใหญ่ (หนาประมาณ นิ้ว) ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาเอกสาร
นั้นแล้วก็มีอาการเครียดเพิ่มขึ้น และคิดในใจว่า ทำไมการเรียนดนตรีไทยจึงได้ยากลำบากเช่นนี้ 
ช่างไม่เหมาะกับวัยรุ่น คนรุ่นใหม่อย่างผมเสียเลย แล้วก็เกิดอาการปลงว่าต้องไม่เสร็จ
ตามกำหนดแน่นอน
         ผู้เขียนจึงใช้วิธีสัมภาษณ์สดจากผู้ที่พอมีความรู้ด้านดนตรีไทยน้อยลงมานิด 

(แต่มากกว่าผู้เขียนหลายเท่า) ซึ่งก็ได้ผล เพราะนอกจากผู้เขียนจะได้รับความรู้ด้านดนตรีไทย
เพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถ ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทยได้แล้ว ผู้เขียนยังได้รับแนวคิดที่
เป็นประโยชน์ ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก
         การนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ตามวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ 
ถือเป็นขบวนการสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการปลูกฝังทัศนคติ เพราะทัศนคติเป็นปัจจัยที่จะ
ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสู่อนาคต เป็นผลให้เกิดการสืบสานทางวัฒนธรรมที่ยาวนาน 
ส่วนการนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีสำหรับการเรียน รู้ในปัจจุบันซึ่ง
เป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไป
         ความเหมาะสมดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ หากอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถที่มีประสบการณ์

ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจที่
หมาะสมกับสภาพธรรมชาติของคนรุ่นใหม่
        นอกเหนือจากที่กล่าว ผู้เขียนได้สรุปแนวความคิดที่เกี่ยวกับสื่อความรู้ที่อาจทำให้คนรุ่นใหม่ 
สนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
       -  มีสื่อการเรียนการสอนที่ประหยัด หาง่าย และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
       -  ปรับปรุงให้ดนตรีไทยเป็นดนตรีร่วมสมัยที่มีรูปแบบในแนวผสมผสาน เช่น แนวดนตรี
ของวงฟองน้ำ หรือวงดอกหญ้าไหว เป็นต้น
       -  จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมด้านดนตรีไทยในสถานศึกษา
       -  กำหนดให้มีการเรียนการสอนดนตรีไทยในสถานศึกษา โดยกำหนดให้เป็นหลักสูตร

บังคับแบบต่อเนื่อง ในระดับประถม และมัธยมศึกษา


  •     แบบอย่างที่ดีจากสื่อมวลชน หรือผู้ซึ่งสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้โดยง่าย
        ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของวัยรุ่นคนรุ่นใหม่คือ พฤติกรรมการเลียนแบบ ตามกระแสนิยม 
หรือตามดาราที่ตนชื่นชอบ โดยมีสื่อมวลชนเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ
        ดังนั้นหากดารา สื่อมวลชน สถานบันเทิง หรือที่ชุมชนสาธารณะที่อยู่ในกระแสนิยมของ

คนรุ่นใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือรถโดยสารประจำทาง ได้หันมาให้ความสำคัญกับดนตรีไทย
ก็จะสามารถสร้างแรงจูงใจ และค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าเราจะได้ยินได้ฟังเสียงจากเครื่องดนตรีไทยไม่มากเท่ากับเครื่องดนตรีสากล ผู้เขียนก็ยังคง
เชื่อว่าดนตรีไทยจะไม่หายไปจากสังคมไทย และคิดว่าจะไม่มีดนตรีใดมาทำให้ดนตรีไทยตายไปจาก
สังคมไทยได้ เพียงแต่ดนตรีเหล่านั้นได้ดึงดูดความสนใจไปจากคนรุ่นใหม่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ตราบใดที่ดนตรีไทยยังคงสะท้อนความอ่อนโยน ฟังสบาย ไม่เร่งเร้า และตราบใดที่ทุกคนยังคงมี
ทัศนคติที่ดีต่อดนตรีไทย และทัศนคติที่ดีต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ดนตรีไทยก็จะยังคงอยู่
และเข้าถึงคนทุกรุ่น แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่แม้จะดูคล้ายเป็นเส้นขนานก็ตาม
        คนรุ่นเก่าอาจต้องทบทวนทัศนคติของตนก่อนที่จะปลูกฝังให้แก่ลูกหลานคนรุ่นใหม่
        ประการแรก คนรุ่นเก่าที่มีความรู้ความสามารถ ควรต้องตระหนักว่าดนตรีไทยเป็นสมบัติ

ของคนรุ่นใหม่ที่คนรุ่นเก่ายืมไปใช้ โดยพร้อมที่จะส่งมอบกลับคืนในเวลาอันควร มิใช่ส่งคืนด้วย
การส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนเปียโน ไวโอลิน หรือฝึกหัดร้องเพลงสากล
ในส่วนของทัศนคตินี้ ควรได้รับการปลูกฝังจากพ่อแม่ ครู หรือผู้ปกครอง โดยปลูกฝังให้

เกิดแนวคิดให้มีทัศนคติที่ดีต่อดนตรีและต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ตั้งแต่ในวัยเยาว์
        ประการที่สอง คนรุ่นเก่าควรทบทวนความเหมาะสมในการใช้คำว่า อนุรักษ์ หรือ สืบสาน 

เพื่อรณรงค์ให้ดนตรีไทยเข้าถึงคนรุ่นใหม่และยั่งยืนสู่คนรุ่นใหม่กว่าต่อไป
        คำว่า อนุรักษ์ ถูกใช้คู่กับดนตรีไทยในยุคโลกาภิวัตน์อยู่บ่อยๆ ใครที่กล่าวถึงดนตรีไทย

ก็มักมีคำนี้พ่วงอยู่ด้วยเสมอ ทำนองว่าให้รักษาดนตรีไทยไว้ให้คงอยู่ดังเดิมต่อไป กล่าวคือ
 มีมาอย่างไรก็ให้มีต่อไปอย่างนั้น ผู้เขียนคิดว่าการรักษาดนตรีไทยในรูปแบบอนุรักษ์ 
อาจไม่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะหากเป็นเช่นนั้น ดนตรีไทยก็คงต้องเป็นดนตรี
สำหรับคนรุ่นเก่าต่อไป และมีอนาคตเพียงแค่ช่วงชีวิตของคนรุ่นเก่าเท่านั้น ในที่สุดก็ต้อง
กลายเป็นดนตรีบนกระดาษ หรือเครื่องเล่นที่ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ (เป็นการอนุรักษ์ที่แท้จริง)
       ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวดนตรีให้เข้ากับยุคสมัย จึงน่าจะเหมาะสมและเป็นทางหนึ่ง

ที่จะช่วยให้ดนตรีไทยสามารถเข้าถึงคนรุ่น ใหม่ และรุ่นต่อๆ ไปได้
       สืบ มีความหมายสองประการ คือ สืบสาว และ สืบทอด
       สืบสาว หมายถึง การสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต เช่นประเภทของเครื่องดนตรี
ความเป็นมา ความดีงาม ความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ
       สืบทอด หมายถึง การส่งต่อเรื่องราวในอดีตไปสู่อนาคต เช่นนำความดีงาม ความเป็น
เอกลักษณ์ของดนตรีไทย ฯลฯ สู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่และรุ่นต่อ ๆ ไป
       สาน หมายถึงการปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่า โดยไม่ทำให้เอกลักษณ์เดิมสูญหาย 

ด้วยเหตุนี้คำว่า สืบสาน จึงน่าจะตอบสนองกับกระแสสังคมปัจจุบันและเข้ากันได้กับคนรุ่นใหม่ 
ผู้มีหน้าที่รักษาและสืบทอดดนตรีไทยสู่อนุชนคนรุ่นต่อไป
          2. นำเสนอความรู้ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัยของคนรุ่นใหม่
         ผู้เขียนเป็นคนรุ่นใหม่ เมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความนี้ ตอนแรกรู้สึกเครียด 

เนื่องจากมีความรู้เรื่องดนตรีไทยน้อยมาก กอปรกับมีเวลาที่จำกัดจึงเลือกใช้วิธีสอบถามจากผู้รู้
ในศาสตร์แขนงนี้หลาย ท่าน แต่เพราะท่านเหล่านั้นมีความรู้มาก จึงได้กรุณามอบเอกสารมาให้
ผู้เขียนนำไปศึกษา (อ่านเอง) ปึกใหญ่ (หนาประมาณ นิ้ว) ซึ่งผู้เขียนได้พิจารณาเอกสารนั้นแล้ว
ก็มีอาการเครียดเพิ่มขึ้น และคิดในใจว่า ทำไมการเรียนดนตรีไทยจึงได้ยากลำบากเช่นนี้ 
ช่างไม่เหมาะกับวัยรุ่น คนรุ่นใหม่อย่างผมเสียเลย แล้วก็เกิดอาการปลงว่าต้องไม่เสร็จ
ตามกำหนดแน่นอน
         ผู้เขียนจึงใช้วิธีสัมภาษณ์สดจากผู้ที่พอมีความรู้ด้านดนตรีไทยน้อยลงมานิด 
(แต่มากกว่าผู้เขียนหลายเท่า) ซึ่งก็ได้ผล เพราะนอกจากผู้เขียนจะได้รับความรู้ด้านดนตรีไทย
เพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถ ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทยได้แล้ว ผู้เขียนยังได้รับแนวคิดที่
เป็นประโยชน์ ได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก
         การนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ตามวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ 

ถือเป็นขบวนการสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการปลูกฝังทัศนคติ เพราะทัศนคติเป็นปัจจัยที่จะ
ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสู่อนาคต เป็นผลให้เกิดการสืบสานทางวัฒนธรรมที่ยาวนาน 
ส่วนการนำเสนอองค์ความรู้ที่เหมาะสมก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีสำหรับการเรียน 
รู้ในปัจจุบันซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไป
         ความเหมาะสมดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ หากอาศัยผู้มีความรู้ความสามารถที่มี
ประสบการณ์
ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจที่เหมาะสมกับ
สภาพธรรมชาติของคนรุ่นใหม่
        นอกเหนือจากที่กล่าว ผู้เขียนได้สรุปแนวความคิดที่เกี่ยวกับสื่อความรู้ที่อาจทำให้คนรุ่นใหม่ 
สนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
       -  มีสื่อการเรียนการสอนที่ประหยัด หาง่าย และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
       -  ปรับปรุงให้ดนตรีไทยเป็นดนตรีร่วมสมัยที่มีรูปแบบในแนวผสมผสาน เช่น แนวดนตรี
ของวงฟองน้ำ หรือวงดอกหญ้าไหว เป็นต้น
       -  จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมด้านดนตรีไทยในสถานศึกษา
       -  กำหนดให้มีการเรียนการสอนดนตรีไทยในสถานศึกษา โดยกำหนดให้เป็นหลักสูตร

บังคับแบบต่อเนื่อง ในระดับประถม และมัธยมศึกษา
  •  แบบอย่างที่ดีจากสื่อมวลชน หรือผู้ซึ่งสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้โดยง่าย
        ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของวัยรุ่นคนรุ่นใหม่คือ พฤติกรรมการเลียนแบบ ตามกระแสนิยม 
หรือตามดาราที่ตนชื่นชอบ โดยมีสื่อมวลชนเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญ
        ดังนั้นหากดารา สื่อมวลชน สถานบันเทิง หรือที่ชุมชนสาธารณะที่อยู่ในกระแสนิยมของ

คนรุ่นใหม่ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือรถโดยสารประจำทาง ได้หันมาให้ความสำคัญกับดนตรีไทย
ก็จะสามารถสร้างแรงจูงใจ และค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น
แม้ว่าเราจะได้ยินได้ฟังเสียงจากเครื่องดนตรีไทยไม่มากเท่ากับเครื่องดนตรีสากล ผู้เขียนก็ยังคง
เชื่อว่าดนตรีไทยจะไม่หายไปจากสังคมไทย และคิดว่าจะไม่มีดนตรีใดมาทำให้ดนตรีไทยตายไป
จากสังคมไทยได้ เพียงแต่ดนตรีเหล่านั้นได้ดึงดูดความสนใจไปจากคนรุ่นใหม่เพียงชั่วคราวเท่า นั้น
ตราบใดที่ดนตรีไทยยังคงสะท้อนความอ่อนโยน ฟังสบาย ไม่เร่งเร้า และตราบใดที่ทุกคนยังคงมี

ทัศนคติที่ดีต่อดนตรีไทย และทัศนคติที่ดีต่อคนที่เล่นดนตรีไทย ดนตรีไทยก็จะยังคงอยู่
และเข้าถึงคนทุกรุ่น แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ที่แม้จะดูคล้ายเป็นเส้นขนานก็ตาม