การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทย

                   
                  


                      การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิหรือ
ความนิยมของแต่ละชาติ การแบ่งประเภทของเครื่อดนตรีตามแบบตะวันตกนั้น
แบ่งเป็นเครื่องสาย  เครื่องลมและเครื่องตี  เครื่องสายจะต้องแยกออกเป็นเครื่องดีด
และเครื่องสี  เครื่องลมก็แยกออกเป็นเครื่องไม้และเครื่องโลหะ  และเครื่องตีก็แยกได้
เป็นเครื่องบรรเลงทํานองและเครื่องประกอบจังหวะ
         ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็นเสียงขึ้น
อย่างเดียวเป็นเครื่องแบ่งประเภท  คือเครื่องที่ดีดเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสาย
ใช้มือหรือวัตถุใดๆดีดที่สายแล้วก็เกิดเสียงขึ้น เช่น กระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้ เรียกว่า
เครื่องดีด เครื่องที่สีเป็นเสียงเป็นเครื่องที่มีสายใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่าเครื่องสี  เครื่องที่ตีเป็นเสียงมีทั้งตีด้วยไม้ เช่น ฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่น กรับและฉิ่ง เหล่านี้เรียกว่า เครื่องตี  เครื่องที่เป่าเป็นเสียงเป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่า
เข้าไปในเครื่องนั้นๆ เช่น ปี่ ขลุ่ย ก็เรียกว่า เครื่องเป่า รวมแล้วดนตรีไทยมี ๔ ประเภท
คือ ดีด สี ตี เป่า
         การแบ่งหน้าที่ของการบรรเลง การแบ่งประเภทเป็นดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการ
แบ่งประเภทของเครื่องดนตรีแต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงซึ่ง
แบ่งออกได้เป็น ๒ พวก

. บรรเลงทํานองเพลง
         
พวกที่ ๑ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำเรียงลําดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง
ดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลงเป็นทํานองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ
. บรรเลงประกอบจังหวะ
         พวกที่ ๒ เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียง เครื่องดนตรีพวกนี้มีหน้าที่บรรเลง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ ตะโพน กลองทัด โทน รํามะนา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น